องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหลื่อม
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหลื่อม
สภาพทั่วไป

 

1. ประวัติความเป็นมา

         เดิมเป็นเขตการปกครองของอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาได้แยกเป็น กิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2519 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2530 ได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหลื่อม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 มีพื้นที่ทั้งหมด 33.75 ตารางกิโลเมตร ระยะห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา 85 กิโลเมตร

2. ที่ตั้ง

       ทิศเหนือ จด ตำบลสีสุก อ.แก้งสนามนาง
        ทิศใต้ จด ตำบลช่อระกา อ.บ้านเหลื่อม
        ทิศตะวันออก จด ตำบลโคกกระเบื้อง อ.บ้านเหลื่อม
        ทิศตะวันตก จด อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ

3. เนื้อที่

เนื้อที่ประมาณ 33.75 ตารางกิโลเมตร

4. ภูมิประเทศ

        สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีพื้นที่ป่าไม้บางส่วน มีลำห้วยขนาดเล็กไหลผ่าน ซึ่งมักจะตื้นเขินและแห้งในฤดูแล้ง สภาพของดินส่วนบนเป็นดินทราย ส่วนล่างเป็นดินเหนียว

5. จำนวนหมู่บ้าน

        เขตปกครอง รวม 7 หมู่บ้าน คือ
       1) จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหลื่อม ประกอบด้วย
       ม. 3 บ้านโต้น
       ม. 6 บ้านดอนเปล้า
       ม. 7 บ้านโนนประดู่
       2) จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหลื่อม (บางส่วน) ประกอบด้วย
       ม. 1 บ้านบ้านเหลื่อม
       ม. 2 บ้านตลาด
       ม. 4 บ้านหนองใหญ่
       ม. 5 บ้านดอนทอง

6. ท้องถิ่นอื่นในตำบล

        - จำนวนเทศบาล 1 แห่ง
        - จำนวนสุขาภิบาล - แห่ง

7. ประชากร

         จำนวนประชากร แบ่งเป็นชาย 1,412 คน หญิง 1,414 คน รวม 2,826 คน มีจำนวนครัวเรือน 568 ครัวเรือน จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งแยกเป็น ชาย - คน หญิง - คน รวม 1,823 คน มีหน่วย เลือกตั้ง 7 หน่วย

ตารางแสดงประชากรในเขตตำบลบ้านเหลื่อม แยกเป็นรายหมู่บ้าน

หมู่ที่ ชื่อบ้าน ประชากร รวม หลังคาเรือน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง รวม จำนวนหน่วยเลือกตั้ง
ชาย หญิง ชาย หญิง
1 บ่านเหลื่อม 19 19 38 11 - - 42 1
2 บ้านตลาด 6 3 9 5 - - 7 1
3 บ้านโต้น 407 397 804 169 - - 598 1
4 บ้านหนองใหญ่ 80 84 164 66 - - 150 1
5 บ้านดอนทอง 33 27 60 24 - - 51 1
6 บ้านดอนเปล้า 556 580 1,136 234 - - 790 1
7 บ้านโนนประดู่ 122 135 257 59 - - 185 1
รวม 1,412 1,414 2,826 568 - - 1,823 7

 

สภาพทางเศรษฐกิจ


1. อาชีพ

         ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางทางเกษตรกร
         1.1 อาชีพเกษตรกรรม (ทำนาข้าว)
         1.2 อาชีพประมง (เลี้ยงกุ้ง,เลี้ยงปลา)
         1.3 อาชีพรับจ้าง (โรงงานอุตสาหกรรม , ทางการเกษตร)

2. หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

         -  ปั๊มน้ำมัน 6 แห่ง
         - โรงสี 3 แห่ง
         -  ร้านค้า 17 แห่ง
         -  รีสอร์ท - แห่ง

 

 

สภาพทางสังคม  

1.  การศึกษา

         สถานศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหลื่อม มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านโต้น โรงเรียนบ้านดอนเปล้า และโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านเหลื่อมวิทยาสรรพ์ ซึ่งมีจำนวนบุคลากรและนักเรียน ดังนี้



ตารางที่ 1 แสดงจำนวนบุคลากรและจำนวนนักเรียนโรงเรียนบ้านโต้น

ชั้น/ปี ชาย หญิง รวม
 ป.1  10  4  14
 ป.2  3  10  13
 ป.3  11  9  20
 ป.4  13  9  22
 ป.5  7  7  14
 ป.6  11  11  22
 อ.1  9  6  15
 อ.2  10  13  23
 รวม  74  69  143

บุคลากรครู / อาจารย์ชาย 3 คน หญิง 5 คน พนักงานบริการชาย 1 คน

 

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนบุคลากรและจำนวนนักเรียน โรงเรียนบ้านดอนเปล้า

ชั้น/ปี ชาย หญิง รวม
 ป.1  4  9  13
 ป.2  8  8  16
 ป.3  10  8  18
 ป.4  3  8  11
 ป.5  13  9  22
 ป.6  4  10  14
 อ.1  11  8  19
 อ.2  9  8  17
 รวม  62  68  130

 บุคลากรครู / อาจารย์ชาย 3 คน หญิง 4 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 1 คนนักการภารโรง 1 คน โดยมี นายนิคม ต้านกลางดอน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน



ตารางที่ 3 แสดงจำนวนบุคลากรและจำนวนนักเรียน โรงเรียนบ้านเหลื่อมพิทยาสรรพ์

ชั้น/ปี ชาย หญิง รวม
 ม.1  4  9  13
 ม.2  8  8  16
 ม.3  10  8  18
 ม.4  3  8  11
 ม.5  13  9  22
 ม.6  4  10  14
 รวม  62  68  130

บุคลากรครู / อาจารย์ชาย 14 คน หญิง 16 คน พนักงานราชการชาย 2 คน พนักงานราชการหญิง 3 คน ครูอัตราจ้างหญิง 1 คน นักการภารโรง 2 คน โดยมี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน



2.  สถาบันและองค์กรศาสนา

        - ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขต อบต.
        - วัด 3 แห่ง

3.  สาธารณสุข

        1) โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ สังกัด กระทรวงสาธารณสุข
           รัฐบาล จำนวน 1 แห่ง เตียงคนไข้ จำนวน 30 เตียง
        2) ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง
        3) คลินิกเอกชน จำนวน - แห่ง
        4) บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกสังกัดในเขตพื้นที่
           - แพทย์ (ข้าราชการ) จำนวน 3 คน
           - แพทย์ (พนักงานของรัฐ) จำนวน 3 คน
           - ทันตแพทย์ จำนวน 1 คน
           - เภสัชกร (ข้าราชการ) จำนวน 2 คน
           - เภสัชกร (พนักงานของรัฐ) จำนวน 3 คน
           - พยาบาล (ข้าราชการ) จำนวน 25 คน
           - พยาบาล (พนักงานของรัฐ) จำนวน 29 คน
           - เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน จำนวน 2 คน
           - ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 4 คน รวม จำนวน 72 คน

4.  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
        - ตู้ยามตำรวจ 1 แห่ง
        - ศูนย์ อปพร. 1 แห่ง

 

 

การบริการพื้นฐาน  

1.  การคมนาคม

การคมนาคม การจราจร
       เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงมีดังนี้  
       1) ทางหลวงแผ่นดิน
          - หมายเลข 2160 สายอำเภอบ้านเหลื่อม – อำเภอคง
          - หมายเลข 2369 สายบ้านเหลื่อม - ปะคำ


       2) สะพาน จำนวน 1 สะพาน


       3) การจัดการขนส่งมวลชน ประกอบด้วย
          - รถโดยสารประจำทาง สายจังหวัดนครราชสีมา – อำเภอแก้งสนามนาง
          - รถไฟ (รฟท.) สาย   (1) บัวใหญ่ – แก่งคอย (2) หนองคาย – กทม. (3) อุดรธานี– กทม.  


       4) ถนน
       ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง จำนวน 2 สาย

   สภาพถนน คอนกรีต จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
    ราดยาง จำนวน 2 สาย ระยะทาง 2.40 กม.
    ลูกรัง จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.


          
                            
                          
       ถนนในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน - สาย
       สภาพถนน     คอนกรีต จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
        ราดยาง จำนวน 1 สาย ระยะทาง 0.34 กม.
        ลูกรัง จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
       ถนนในความรับผิดชอบของ กรป.กลาง จำนวน - สาย
       สภาพถนน  คอนกรีต จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
        ราดยาง จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
        ลูกรัง จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
       ทางหลวงท้องถิ่น  จำนวน - สาย
       สภาพถนน     คอนกรีต จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
        ราดยาง จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
        ลูกรัง จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
       ถนนของท้องถิ่น เทศบาลตำบลบ้านเหลื่อม จำนวน 70 สาย
       สภาพถนน     สภาพถนน คอนกรีต จำนวน 69 สาย ระยะทาง 16.38 กม.
        ราดยาง จำนวน - สาย ระยะทาง - กม.
        ลูกรัง จำนวน 1 สาย ระยะทาง 0.10 กม.
          
2. การโทรคมนาคม

        1) จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่ 6 หมายเลข
        2) จำนวนชุมสายโทรศัพท์จำนวน 1 ชุมสาย
        3) ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
        4) หอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ 95 ของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหลื่อม

3. การไฟฟ้า

        - ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน
        - หมู่บ้านที่มีไฟฟ้าไม่ครบทุกครัวเรือน ได้แก่ หมู่ 4,7

4. แหล่งน้ำธรรมชาติ

        ลำห้วย 6 แห่ง,   สระน้ำ - แห่ง,  หนองน้ำ 1 แห่ง,  บ่อน้ำตื้น - แห่ง,  ลำคลอง 6 แห่ง, บ่อบาดาล - แห่ง,  บึง 1 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง, แม่น้ำ 1 แห่ง,  ฝาย 2 แห่ง,   อื่น ๆ (ระบุ) - แห่ง , เหมือง - แห่ง

5. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

        -  ฝาย/ทำนบ/ผนังกั้นน้ำ 2 แห่ง
        -  บ่อน้ำตื้น - แห่ง
        -  บ่อบาดาล - แห่ง
        -  ประปา 7 แห่ง

6. แหล่งท่องเที่ยว

        -  อ่างเก็บน้ำละหานลูกนก

 

ข้อมูลอื่น ๆ   

  1. ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

        -  ป่าไม้ สภาพป่าเป็นป่าโปร่ง ส่วนใหญ่ถูกทำลาย
        -  ดิน สภาพดินโดยทั่วไป เป็นดินร่วนปนทราย และดินลูกรัง
        -  น้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ น้ำฝน แม่น้ำชี

  2. มวลชนจัดตั้ง

        -  ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น 50 คน
        -  อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
        -  รุ่น 56 คน

  ศ้กยภาพในตำบล   

  ก. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล

( 1) จำนวนบุคลากร รวมจำนวน 17 คน
         - ตำแหน่งในสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล     8     คน
    - ตำแหน่งในส่วนการคลัง     4     คน
    - ตำแหน่งในส่วนโยธา     2         คน
    - ตำแหน่งในส่วนสาธารณสุข     -     คน
    - ตำแหน่งส่วนการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม      3     คน


(2) ระดับการศึกษาของบุคลากร
         - ประถมศึกษา     1     คน
    - มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา     11     คน
    - ปริญญาตรี     4        คน
    - ปริญญาโท     1     คน
        3     คน

   โครงสร้างและอัตรากำลังในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหลื่อม

        ข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น จำนวน 11 คน
        ลูกจ้างประจำ รวมทั้งสิ้น จำนวน - คน
        พนักงานจ้าง(ภารกิจ/ทั่วไป) รวมทั้งสิ้น จำนวน 6 คน การแบ่งส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหลื่อม ประกอบด้วย
        - สำนักปลัด
        - ส่วนการคลัง
        - ส่วนโยธา
        - ส่วนการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
        - ส่วนส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม